พระกรุวัดพระรูปสุพรรณบุรี
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้ผมจะมาคุยถึงเรื่องพระกรุวัดพระรูปสุพรรณบุรี เพราะนอกจากพระขุนแผนไข่ผ่าที่เราคุ้นเคยกันดีแล้วยังมีพระที่เราๆ ท่านๆ ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก ของกรุวัดพระรูป เช่น พระพลายงามและพระกุมารทองหรือพระยุ่งวันนี้จึงนำมาพูดคุยกันพร้อมรูปพระครับ
วัดพระรูปตั้งอยู่ที่ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง สุพรรณบุรีอยู่ตรงข้ามกับตัวตลาดจังหวัดสุพรรณบุรี วัดพระรูปเป็นวัดเก่าแก่รุ่นราวคราวเดียวกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดเขา วัดอินทร์ วัดมรกต ซึ่งอยู่ในตำบลเดียวกันสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดในสมัยอู่ทองปลาย เนื่องจากยังเหลือหลักฐานองค์พระเจดีย์และพระพุทธรูปปางไสยาสน์
ศิลปะอู่ทองปลายอยู่
พระกรุวัดพระรูปนั้นพบกันตามลานดินภายในบริเวณวัดพระรูป ไม่ได้พบอยู่ในองค์พระเจดีย์ผู้เฒ่าผู้แก่ในสมัยนั้นต่างก็บอกว่าพบพระกระจัดกระจายอยู่ทั่วๆ ไป พอฝนตกองค์พระก็โผล่ขึ้นมาจากดินก็มีผู้เก็บเอาไปไว้บ้างตั้งแต่ในสมัยก่อน และต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ทางวัดพระรูปจะสร้างพระอุโบสถใหม่แทนหลังเก่าซึ่งชำรุดทรุดโทรม ด้วยการสร้างคร่อมหลังเก่าพระอาจารย์ดี รองเจ้าอาวาสในสมัยนั้นเป็นแม่งาน ท่านรู้ดีว่าพระเครื่องพิมพ์ต่างๆของวัดพระรูปฝังจมอยู่ในดินโดยทั่วไป ท่านจึงป่าวประกาศชักชวนชาวบ้านให้มาช่วยกันขุดหลุมรอบๆโบสถ์หลังเก่า โดยไม่มีค่าจ้างแรงงาน ใครพบพระก็เอาไป ชาวบ้านดีใจเป็นอันมาก เพราะรู้ดีว่าใต้พื้นดินนั้นมีพระตระกูลขุนแผนอยู่ดีกว่าค่าจ้างขุดหลุมเป็นไหนๆ จึงอาสามาขุดกันจำนวนมาก พอขุดไปเพียงศอกเศษก็ได้พระยิ่งขุดลึกก็ยิ่งพบ แต่บางคนไม่พบเลยก็มีปรากฏว่าในการขุดหลุมโบสถ์ครั้งนั้นได้พระพิมพ์ต่างๆ เป็นจำนวนร้อยกว่าองค์ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2510 ทางวัดเอารถเกรดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดไปปราบที่ของวัดซึ่งมีต้นไม้ปกคลุมรกรุงรังก็ยังพบพระตระกูลขุนแผนประปราย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ทางวัดมีความประสงค์จะก่อสร้างวิหารพระปางไสยาสน์ ซึ่งอยู่ใกล้กับพระอุโบสถซึ่งเก่าแก่ใกล้จะพัง ด้วยการสร้างคลุมเช่นเดียวกับพระอุโบสถ พระอาจารย์ดีท่านก็ดำเนินตามแบบเดิมโดยชักชวนชาวบ้านมาขุดหลุมปรากฏว่าได้พระตระกูลขุนแผนไปอีกร้อยกว่าองค์ จากการสอบถามท่านอาจารย์ดี วัดพระรูปของอาจารย์มนัสโอภากุล จึงทราบว่าในสมัยก่อนนั้น วัดพระรูปมีพระเจดีย์อยู่หลายองค์แต่ต่อมาภายหลังได้ชำรุดทรุดโทรมหักพังไปหมดแล้ว ยังเหลืออยู่เพียงองค์เดียวคือพระเจดีย์ที่ยังเห็นอยู่ปัจจุบันนี้เท่านั้น
จึงสันนิษฐานได้ว่า พระเครื่องของวัดพระรูปคงจะบรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์ที่ได้ปรักหักพังลงไปแล้วนั่นเองต่อมาจึงได้พบพระเครื่องตระกูลขุนแผนกระจายอยู่เกลื่อนพื้นวัดเต็มไปหมด และส่วนฐานของพระเจดีย์ที่หักพังลงไปแล้วนั้นก็คงฝังจมอยู่ใต้พื้นดิน พระตระกูลขุนแผนที่พบในบริเวณวัดพระรูปที่เป็นเนื้อดินเผานั้นมีทั้งหมดด้วยกัน5 พิมพ์คือ พระขุนแผน พระขุนไกร พระพลายงาม พระพันวษา พระกุมารทอง หรือพระยุ่งและที่เป็นเนื้อชินพบพระศิลปะอู่ทองอยู่อีกเล็กน้อยวันนี้ผมนำรูปพระเนื้อดินกรุวัดพระรูปมาให้ชมกันครบทุกพิมพ์กันเลยครับ ทั้งพระขุนแผนไข่ผ่าพระพลายงาม พระกุมารทอง พระพันวษา และพระขุนไกรครับ
วัดพระรูปตั้งอยู่ที่ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง สุพรรณบุรี อยู่ตรงข้ามกับตัวตลาดจังหวัดสุพรรณบุรี วัดพระรูปเป็นวัดเก่าแก่ รุ่นราวคราวเดียวกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดเขา วัดอินทร์ วัดมรกต ซึ่งอยู่ในตำบลเดียวกัน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดในสมัยอู่ทองปลาย เนื่องจากยังเหลือหลักฐานองค์พระเจดีย์และพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ศิลปะอู่ทองปลายอยู่
ความเชื่อ ชาวบ้านเชื่อกันว่ารอบ ๆ วัดระรูป มีทธรูปอยู่ใต้ดินเป็นจำนวนมาก รอบบริเวณ ซึ่งระที่พบนั้นเชื่อกันว่า มีความศักดิ์สิทธิ์ และผ่านการปลุกเสกมากอย่างดี ครังและเป็นทีต้องการของคนจำนวนมา
พระกรุวัดพระรูปนั้นพบกันตามลานดินภายในบริเวณวัดพระรูป ไม่ได้พบอยู่ในองค์พระเจดีย์ ผู้เฒ่าผู้แก่ในสมัยนั้นต่างก็บอกว่าพบพระกระจัดกระจายอยู่ทั่วๆ ไป พอฝนตกองค์พระก็โผล่ขึ้นมาจากดิน ก็มีผู้เก็บเอาไปไว้บ้างตั้งแต่ในสมัยก่อน และต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ทางวัดพระรูปจะสร้างพระอุโบสถใหม่แทนหลังเก่าซึ่งชำรุดทรุดโทรม ด้วยการสร้างคร่อมหลังเก่า พระอาจารย์ดี รองเจ้าอาวาสในสมัยนั้นเป็นแม่งาน ท่านรู้ดีว่าพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ของวัดพระรูปฝังจมอยู่ในดินโดยทั่วไป ท่านจึงป่าวประกาศชักชวนชาวบ้านให้มาช่วยกันขุดหลุมรอบๆ โบสถ์หลังเก่า โดยไม่มีค่าจ้างแรงงาน ใครพบพระก็เอาไป ชาวบ้านดีใจเป็นอันมาก เพราะรู้ดีว่าใต้พื้นดินนั้นมีพระตระกูลขุนแผนอยู่ ดีกว่าค่าจ้างขุดหลุมเป็นไหนๆ จึงอาสามาขุดกันจำนวนมาก พอขุดไปเพียงศอกเศษก็ได้พระ ยิ่งขุดลึกก็ยิ่งพบ แต่บางคนไม่พบเลยก็มี ปรากฏว่าในการขุดหลุมโบสถ์ครั้งนั้นได้พระพิมพ์ต่างๆ เป็นจำนวนร้อยกว่าองค์ ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2510 ทางวัดเอารถเกรดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดไปปราบที่ของวัดซึ่งมีต้นไม้ปกคลุมรกรุงรัง ก็ยังพบพระตระกูลขุนแผนประปราย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ทางวัดมีความประสงค์จะก่อสร้างวิหารพระปางไสยาสน์ ซึ่งอยู่ใกล้กับพระอุโบสถ ซึ่งเก่าแก่ใกล้จะพัง ด้วยการสร้างคลุมเช่นเดียวกับพระอุโบสถ พระอาจารย์ดีท่านก็ดำเนินตามแบบเดิมโดยชักชวนชาวบ้านมาขุดหลุม ปรากฏว่าได้พระตระกูลขุนแผนไปอีกร้อยกว่าองค์ จากการสอบถามท่านอาจารย์ดี วัดพระรูปของอาจารย์มนัส โอภากุล จึงทราบว่าในสมัยก่อนนั้น วัดพระรูปมีพระเจดีย์อยู่หลายองค์ แต่ต่อมาภายหลังได้ชำรุดทรุดโทรมหักพังไปหมดแล้ว ยังเหลืออยู่เพียงองค์เดียวคือพระเจดีย์ที่ยังเห็นอยู่ปัจจุบันนี้เท่านั้น
จึงสันนิษฐานได้ว่า พระเครื่องของวัดพระรูปคงจะบรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์ที่ได้ปรักหักพังลงไปแล้วนั่นเอง ต่อมาจึงได้พบพระเครื่องตระกูลขุนแผนกระจายอยู่เกลื่อนพื้นวัดเต็มไปหมด และส่วนฐานของพระเจดีย์ที่หักพังลงไปแล้วนั้นก็คงฝังจมอยู่ใต้พื้นดิน พระตระกูลขุนแผนที่พบในบริเวณวัดพระรูปที่เป็นเนื้อดินเผานั้นมีทั้งหมดด้วยกัน 5 พิมพ์ คือ พระขุนแผน พระขุนไกร พระพลายงาม พระพันวษา พระกุมารทอง หรือพระยุ่ง และที่เป็นเนื้อชินพบพระศิลปะอู่ทองอยู่อีกเล็กน้อย
บรรยากาศภายในวัดพระรูป
บรรยากาศภายในวัดพระรูป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น