วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

วัดสำปะซิว

วัดสำปะซิว

           หลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ วัดสำปะซิว "วัดสำปะซิว" สร้างเมื่อ พ.ศ.๑๘๕๗ ยุคสมัยประวัติศาสตร์หลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ สันนิษฐานว่าอยู่ในสมัยทราวดี อายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี

วัดสำปะซิว
เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ ตามประวัติของท่านสุนทรภู่ได้เดินทางสุพรรณบุรี โดยแจวเรือมากรุงเทพฯ ล่องมาตามลำน้ำสุพรรณบุรี  และได้จดบันทึกเป็นโครงสี่สุภาพ โครงนิราศเมืองสุพรรณบุรีมีตอนหนึ่งได้ประพันธ์ไว้ดังนี้
 “สำปะทิวงิ้วง้าวสะล้าง  กรางไกร
 ถิ่นท่าป่ารำไร   ไร่ฝ้าย
 เจ๊กอยู่หมู่ไทยมอญ   ทำถั่วรั้วเอย
 ปลูกผักฟักกล้วยกล้าย  เกลื่อนทั่วทางจร”
             จากโครงนิราศเมืองสุพรรณบุรีนี้เองแปลความได้ว่า ครั้งหนึ่ง วัดแห่งนี้เคยถูกเรียกชื่อว่า “วัดสำปะทิว”แต่เนื่องจากสาเหตุอันใดไม่ทราบ ได้ทำให้การเรียกชื่อวัดแห่งนี้ผิดเพี้ยนไปจากเดิมจากชื่อว่า วัดสางบัญชี เป็นวัดสำปะทิว ก่อนที่จะเป็นวัดสำปะซิว มาจนถึงทุกวันนี้
และถูกสร้างเมื่อ พ.ศ.๑๘๕๗ยุคสมัยประวัติศาสตร์(อยุธยาตอนต้น) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๑๘๖๐ ตามประวัติตำนานที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานต่อๆกันมาว่า    เดิมสถานที่แห่งนี้เป็นวัดร้างต่อมากองทัพไทยในองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้มาหยุดพักทัพเพื่อตรวจสอบบัญชีจำนวนทหารในกองทัพว่ามีจำนวนทหารที่สูญหายจากการทำศึกเท่าใด และมีจำนวนทหารเหลืออยู่เท่าใด ในสมัยนั้นเรียกสถานที่แห่งนี้ว่าสางบัญชี
ต่อมาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดร้างแห่งนี้ขึ้นจึงตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า วัดสางบัญชี เนื่องจากสาเหตุอันใดไม่ทราบ ได้ทำให้การเรียกชื่อวัดแห่งนี้ผิดเพี้ยนไปจากเดิมจากชื่อว่า วัดสางบัญชี เป็น วัดสำปะซิว มาจนถึงทุกวันนี้
ในอดีตได้มีการขุดพบพระบูชาศิลปะลพบุรีอยู่หลายครั้งทางทิศใต้ใกล้ๆ กับวัดสำปะซิว ต่อมาภายหลัง นายดีซึ่งมีบ้านเรือนอยู่ทางเหนือของวัดสำปะซิว ขุดที่ดินในบริเวณริมรั้วบ้าน ก็ได้พบพระเครื่องเนื้อดินเผา ขึ้นมาจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังพบ พระซุ้มนครโกษา และพระนารายณ์ทรงปืน อีกด้วย ซึ่งศิลปะพิมพ์ทรงคล้ายกับพระที่พบทาง จ.ลพบุรีสาเหตุที่เรียกกันว่า พระกรุวัดสำปะซิว นั้นเพราะเมื่อมีผู้ถามว่าเป็นพระที่ไหน ชาวบ้านก็มักจะตอบว่า พระสำปะซิว ก็เลยเรียกกันมาติดปากว่าพระกรุวัดสำปะซิว เนื่องจากใกล้เคียงบริเวณนั้นมี วัดสำปะซิว ตั้งอยู่
จากการสังเกตดูการขุดพบพระมักจะพบตามบริเวณพื้นดิน ไม่ปรากฏเจดีย์ หรือโบราณสถานอื่นใดเลยซึ่งอาจจะผุพังเสียหายไปนานแล้ว สันนิษฐานว่าบริเวณนี้น่าจะเป็นที่ชุมชนมาตั้งแต่สมัยลพบุรี เพราะพบพระบูชาเป็นสมัยลพบุรีแทบทั้งสิ้น
           ต่อมาก็พบ พระเครื่องท่ามะปราง และพระซุ้มนครโกษา อีกซึ่งอายุของพระเครื่องก็น่าจะอยู่ในราวสมัยสุโขทัยตอนปลาย อย่างไรก็ตามในจำนวนพระพุทธรูปที่ขุดพบทั้งหมดมีอยู่องค์หนึ่งที่ไม่ตกไปอยู่ในมือของนักค้าวัตถุมงคล แต่หากยังถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดเป็นอย่างดีคือหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ ได้ถูกค้นพบเมื่อพ.ศ.๒๔๙๕ ปีมะโรง โดย นายส่ง สุจินตวงษ์ นำมาถวายวัดสำปะซิวโดยมี พระครูสุวรรณคุณสาร (หลวงพ่อเต๋ย) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในยุคนั้น
ครั้งนั้นเป็นที่แตกตื่นฮือฮากันอย่างมากแก่ผู้ที่รู้ข่าว และได้มาพบเห็นพากันมาบูชาสักการะจำนวนมาก คนเก่าคนแก่ในครั้งนั้นเล่าให้ฟังว่า"ใครมากราบไหว้บูชาขอปรารถนาในสิ่งใด สำเร็จในสิ่งนั้น สมดังชื่อหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ซึ่งมีความหมายแปลว่า สำเร็จ สมหวัง สมปรารถนา"หลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ สันนิษฐานว่าอยู่ในสมัยทราวดีอายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี หล่อด้วยนวโลหะเนื้อทองสัมฤทธิ์โบราณ ประกอบด้วยทองมงคล ๙ประการครั้นโบราณกาลถือธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติ เมื่อจะหล่อพระพุทธรูปครั้งใด ต้องประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่ถือเป็นประเพณีของพระราชามหากษัตริย์ จะเป็นผู้นำสร้าง ซึ่งประชาชนคนธรรมดาไม่สามารถกระทำได้เองเพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ยิ่งใหญ่
ใครที่ได้เข้ามาสักการะหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์มักพูดทำนองเสียงเดียวกันว่า เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ มีความงดงามแบบโบราณบรรพกาล ยิ่งด้วยกว่านั้นเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะปางพุทธรูปที่พิเศษแปลกอัศจรรย์กว่าพระพุทธรูปปางใดๆ ในสยามประเทศ ซึ่งมีให้เห็นไม่ปรากฏบ่อยนัก ที่จะมีพระพุทธรูปปางเช่นนี้ด้วยว่าลักษณะของหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์นั่ง อย่างสง่างามบนฐานแท่นบัลลังก์บัวคว่ำบัวหงาย ขัดสมาธิเพชร พระบาทซ้อนพระบาท ซึ่งหมายถึงลักษณะอันงดงาม มั่นคงแข็งแกร่ง ดุจดังเพชร ในขณะที่พระกรขวายกขึ้น พระหัตถ์ขวาแผ่ประทานพรพระกรซ้ายยกขึ้น พระหัตถ์ซ้ายแผ่ให้พรมงคลด้วยพุทธลักษณะที่งดงามและมีอายุเก่าแก่ในสมัยที่หลวงพ่อเต๋ย มีชีวิตอยู่นั้น มีนักค้าวัตถุมงคลติดต่อขอเช่าในราคาสูงถึง ๑๖ ล้านบาทแต่หลวงพ่อไม่ให้จากนั้นอีกประมาณ ๑ สัปดาห์ ปรากฏว่ามีคนร้ายใช้ความพยายามมาโจรกรรม โดยวางยานอนนหลับพระทั้งวัดแต่ด้วยความศักด์สิทธิ์ของหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ ทำ ให้โจรไม่สามารถเคลื่อนย้ายพระได้จากนั้นคณะกรรมการวัดได้สร้างกรงปิดไว้ และจะเปิดให้พุทธศาสนิกชนกราบไหว้ขอพรได้เฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญๆเท่าน้นพระมหาอนันต์กุสลาลงกาโร เป็นเจ้าอาวาสบอกว่า ในช่วง เทศกาลตรุษจีน ปีนี้ นับเป็นครั้งแรกในรอบ๕๐ กว่าปี ที่จะเปิดให้สาธุชนได้ชมพระบารมี และสักการบูชา ขอพร หลวงพ่อทองสัมฤทธิ์สัทธิการิยะปุคคละ บุคคลใดชายก็ดี หญิงก็ตาม สาธุชนทั้งปวง มีโอกาสมาสักการบูชากราบไหว้จักเป็นมงคลแก่ตัว เป็นบุญ เป็นวาสนา เป็นบารมี เป็นมหาโชค มหาลาภอันยิ่งใหญ่ไพศาล สุดจะพรรณนา เพราะเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองอีกองค์หนึ่งของเมืองสุวรรณภูมิแห่งลุ่มแม่น้ำท่าจีน วัดสำปะซิว

พระมหาอนันต์กุสลาลงกาโร เจ้าอาวาสวัดสำปะซิวบอกว่า ปัจจุบันนี้วัดสำปะซิวเป็นอีกวัดหนึ่งในสุพรรณบุรีที่พุทธศาสนิกชนนิยมมาทำ บุญและกราบไหว้ขอพรโดยที่วัดมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ๙ มหามงคล ประกอบด้วย
๑.หลวงพ่อทองสัมฤทธิ์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ สมัยทวารวดีอายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี
๒.พระบรมสารีริกธาตุที่อดีตเจ้าอาวาสเก็บรักษามากว่าครึ่งทศวรรษ
 ๓.หลวงพ่อสมปรารถนา พระประธานในอุโบสถอายุ ๖๙๖ปี ซึ่งเป็นพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีผู้มาอธิษฐานจิต ขอในเรื่องหนี้สินทั้งที่เป็นลูกหนี้แล้วเจ้าหนี้มักจะสมปรารถนาจึงเรียกท่านว่า หลวงพ่อสมปรารถนา บางคนก็เรียกว่า หลวงพ่อสางบัญชี เพราะช่วยสางบัญชีนั้นเอง
 ๔.อุโบสถอายุ ๖๙๖ ปี ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เวสสันดรชาดกที่งดงามยิ่งโดยเฉพาะภาพฝีพระหัตถ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ
 ๕.พระสิวลี อรหันต์สาวก ที่ขึ้นชื่อว่า เป็นผู้ที่มากด้วยลาภสักการะ
 ๖. น้ำมนต์นพเคราะห์ ซึ่งเป็นน้ำมนต์รวบรวมมาจากวัด และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆแล้วมาประกอบพิธีนพเคราะห์เพื่อความเป็นสิริมงคล และเพิ่มพลังให้เทวาประจำกาย

 ๗.วิหารฐานสำเภาสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ฐานของวิหารโค้งเหมือนเรือ ภายในเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทพระพุทธชินราช และพระพุทธรูปหินทราย เก่าแก่จำนวนมาก
 ๘.พระพิฆเณศ เทพแห่งศิลปะ ปางหมอยา อายุกว่า ๑๐๐ ปีซึ่งญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาถวายให้วัด
  ๙.พราหมณ์พ่อปู่ชูชกผู้ที่เกิดมาเพื่อเป็นคู่บารมีของพระเวสสันดรโพธิสัตว์ ในฐานะผู้ขอกับผู้ให้
 นอกจากนี้แล้ว ยังมีศาลาเรือนแพในแม่น้ำสุพรรณบุรี เป็นสถานที่สร้างทานบารมีและอนุรักษ์พันธุ์ปลา ซึ่งมีปลาขนาดใหญ่หลากชนิด ที่มากินอาหาร
 สำหรับความเป็นมาของการจัดสร้าง "พราหมณ์พ่อปู่ชูชก" นั้น พระมหาอนันต์บอกว่า เมื่อ พ.ศ.๒๕๕ ทางวัดได้จัดเทศน์มหาชาติ ระหว่างนั้นเกิดนิมิตว่าท่านขอให้สร้างรูปปั้นในวัด เพื่อจะมาร่วมบารมีสร้างวัด ปรากฏว่าหลังจากสร้างเสร็จมีประชาชนเดินทางมากราบไหว้ขอพรอย่างต่อเนื่อง โดยมีคติความเชื่อในทางไสยศาสตร์ยกย่องชูชกว่าเป็นคนมีเสน่ห์ มีลาภมาก ข้าวปลาอาหาร บ้านเรือน และบริวาร จะขออะไรใครเขาก็ให้ หลายคนมาขอพรแล้วสมความปรารถนาก็นำปัจจัยที่ได้มาช่วยสร้าง และพัฒนาวัดอย่างที่เห็น


บรรยากาศวัดสำปะซิว



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น