วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

หลวงพ่อจักรเพชร

หลวงพ่อจักรเพชร วัดเขาดิน


หลวงพ่อจักรเพชร
สำหรับองค์เจดีย์นั้นเดิมส่วนยอดปรักหักพังเหลือเพียงส่วนองค์ระฆังเท่านั้น จากคำบอกเล่าของบุคคลในท้องถิ่นและพระภิกษุในวัดดังกล่าว ทางวัดได้ทำการต่อเติมขึ้นสำหรับปักธงเพื่อใช้ในงานประจำปี ในช่วงปี 2540 ลงมา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดเขาดินเป็นโบราณสถานของชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 หน้า 33/11 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 และใน 2505 มีการขุดเจาะองค์เจดีย์เพื่อค้นหาโบราณวัตถุ ทั้งโดยการลักลอบและโดยทางราชการ ได้พระพุทธรูปปางต่างๆหลายองค์ อาทิเช่น พระพุทธรูปยืนสำริดกระทำวิตรกะมุทรา ศิลปะแบบอู่ทอง ปัจจุบันอยู่ในกุฏิวัดเขาดิน ขนานนามว่า หลวงพ่อจักรเพชร และพระพุทธรูปปางสมาธิสำริด ศิลปะแบบอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ 20-25 ปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2538 กรมศิลปากรได้จ้างเหมาบริษัทโดยทำการขุดแต่งพร้อมเขียนแบบ สภาพปัจจุบันและแบบวิเคราะห์รูปทรงของเจดีย์องค์นี้


โบราณสถานวัดเขาดิน

โบราณสถานวัดเขาดิน ต.สระแก้ว อ.เมือง สุพรรณบุรี ในเขตบริเวณวัดเขาดิน เริ่มจากตัวเมืองสุพรรณบุรีไปทางทิศตะวันตก เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 321 จนถึงบ้านอู่ยาเป็นระยะทาง 8 กิโลเมตร แยกเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 322 ซึ่งเป็นถนนสายที่จะไปยังอำเภอดอนเจดีย์ต่อไปอีก 6 กิโลเมตร ถึงบ้านท่าเสด็จหลังจากข้ามสะพานแม่น้ำท่าว้าจะมีป้ายบอกทางแยกเข้าสู่วัด เขาดินอยู่ทางซ้ายของถนน ปากทางเป็นที่ตั้งของสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ 4 สระ ได้แก่ สระแก้ว สระคา สระยมนา และสระเกษ เลี้ยงเข้าไปตามเส้นทางดังกล่าวอีก 2 กิโลเมตร จึงจะถึงวัดเขาดิน รวมระยะทางจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรีถึงโบราณสถานวัดเขาดิน 16 กิโลเมตร
 การตั้งวัดและเจดีย์องค์นี้ไม่ปรากฏเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรว่าได้ก่อ สร้างขึ้นเมื่อใด และมีเจ้าอาวาสสืบต่อกันมาแล้วกี่องค์ มีแต่คำบอกเล่ากันมาว่าเมื่อครั้งเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 นั้น มีพระภิกษุรูปหนึ่งของวัดเขาดินเกรงว่าพระพุทธบาทที่จำหลักด้วยไม่ที่ ประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้จะเป็นอันตรายจึงได้ของย้ายไปซ่อนไว้ในดงไม้ ครั้นเมื่อสงครามได้สิ้นสุดลงแล้ว จึงนำพระพุทธบาทไม้จำหลักองค์นี้ไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระรูปในตัวเมือง สุพรรณบุรี และอยู่สืบทอดมาจนปัจจุบัน
กล่าวกันว่าตัวอาคารเป็น แบบศาลาโถงที่ตั้งอยู่ข้างเจดีย์โบราณนี้เคยเป็นที่ตั้งของมณฑปที่ประดิษฐาน พระพุทธบาทไม้มาก่อนจึงประมาณกันว่าอย่างน้อยวัดนี้มีมาแล้วตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีตำนานกล่าวถึงการสร้างเจดีย์วัดเขาดินว่า มีชาย 2 คน เป็นเพื่อนกันพากันไปเที่ยวป่า แล้วได้ยินเสียงโคร้อง โดนไม่เห็นตัว จึงพากันเดินหาที่มาของเสียงดังกล่าวจนมาพบกับเขาคู่หนึ่ง และได้แบ่งกันคนละ 1 เขา คนหนึ่งนำไปบูชาออย่างดีเกิดร่ำรวยขึ้นมา จึงไปสร้างวัดให้ชื่อว่าวัดโคกโคเฒ่า ที่บ้านโคกโคเฒ่าในปัจจุบัน ส่วนอีกคนเมื่อถึงบ้านก็ทิ้งไว้ไม่สนใจกราบไหว้บูชา ครั้นไปเยี่ยมเพื่อนพบว่าเพื่อนร่ำรวยขึ้นจึงสอบถาม เมื่อได้ความก็กลับมาค้นหาเขาโคที่ทิ้งไว้ แต่ก็ไม่พบ จึงนำดินมาปั่นเขาโคขึ้นใหม่แล้วกราบไหว้


ภาพบรรยากาศ











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น