วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

วัดชีสุขเกษม

วัดชีสุขเกษม
วัดชีสุขเกษม มงคลแห่งมนต์ขลังพลังอันศักดิ์สิทธิ์พระศิลาทรายอายุนับพันปี



               ชื่อ "วัดชีสุขเกษม" มาจาก "แม่ชีสุขเกษม"และแวะไปกราบนมัสการ "หลวงพ่อแสง" แล้ว เราจะไปดูสิ่งที่เป็นจุดเด่นของวัดแห่งนี้  คือ  พระพุทธรูปประทับยืน อายุกว่าพันปี เป็นศิลาศิลปะทราวดี ที่ขุดค้นพบภายในวัดนั่นเอง

ส่วนที่เห็นอยู่นี้ เป็นจอมปลวกยักษ์ ที่มีคนมากราบไหว้บูชามากมาย

เมื่อเจ้านายในล้านนาสูญเสียทั้งอำนาจในการปกครองและรายได้จากการค้าไม้สัก อำนาจของสยามในล้านนาก็นับวันเพิ่มขึ้น ๆ เจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สิ้นชีวิตในปี 2440 ลูกสาวที่ถูกเรียกลงเป็นเจ้าจอมที่บางกอกเมื่ออายุได้ 13 ปี (พ.ศ. 2430) คือเจ้าดารารัศมีก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นมาเผาศพพ่อ และแผ่นดินเชียงใหม่ก็ไม่มีเจ้าผู้ครองนครเพราะสยามไม่แต่งตั้งผู้ใด นั่นคือช่วงปี พ.ศ. 2441 - 2442
และช่วงเวลานั้นเอง (พ.ศ. 2441) ที่เจ้าแก้วนวรัฐ - ราชบุตรของเจ้าอินทวิชยานนท์ผู้วายชนม์ และเป็นราชบุตที่ไม่รู้ว่าจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าผู้ครองนครต่อจาก พ่อหรือไม่ ก็ได้ส่งลูกชายคือเจ้าน้อยศุขเกษมวัย 15 ปี ไปเรียนที่โรงเรียน St. Patrick's School โรงเรียนกินนอนชายซึ่งเป็นคาธอลิคในเมืองเมาะละแหม่ง โรงเรียนแห่งนี้ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2385 ทำไมเจ้าราชบุตรจึงส่งลูกชายไปเรียนที่นั่น กล่าวกันว่าเจ้าแก้วนวรัฐค้าไม้สักกับพม่าเมืองเมาะละแหม่งจนสนิทสนมเป็นอัน ดีกับเศรษฐีพ่อค้าไม้ชาวพม่าคนหนึ่งชื่อ อูโพดั่ง เจ้าน้อยศุขเกษมนั่งช้างจากเชียงใหม่ไปถึงเมาะละแหม่งได้พักที่บ้านพ่อค้าอู โพดั่งในช่วงวันหยุด วันเรียนหนังสือก็อยู่ที่โรงเรียนกินนอน
จน เมื่อปี 2445 หนุ่มน้อยศุขเกษมวัย 19 ปีไปเที่ยวตลาดไดวอขวิ่น  ซึ่งเป็นตลาดห่างจากบ้านพ่อค้าอูโพดั่งราว 10 นาที  ก็ได้พบและหลงรักสาวน้อยวัย 15 ปี  นาม "หมะเมียะ" (ภาษาพม่าแปลว่ามรกต)  สาวหมะเมียะ  ขายบุหรี่เซเล็ก (ภาษาพม่าแปลว่ายามวน)  ก็รักหนุ่มน้อยจากเชียงใหม่เช่นกัน
เมื่อความรักเพิ่มพูนกลายเป็นความมุ่งมั่นและความผูกมัด  วันหนึ่งทั้งสองก็ชวนกันขึ้นไปไหว้พระเจดีย์ไจ้ตาหล่านอันเป็นที่เคารพสูงสุดของชาวเมืองสาบานว่าจะครองรักกันไปตราบสิ้นลม และถ้าผู้ใดผิดคำสาบานก็ขอให้มีอันเป็นไป  เมื่อเจ้าศุขเกษม อายุ 20 ปีกลับบ้านพร้อมกับหมะเมียะวัย 16 ที่ปลอมตนเป็นชายร่วมเดินทางมาด้วย  ฝ่ายชายก็พบว่าพ่อได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าราชบุตร  ส่วนเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนใหม่คือเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์  ผู้เป็นอนุชาต่างมารดาของพ่อ
เจ้าศุขเกษมได้พบว่าผู้เป็นพ่อ และแม่ได้หมั้นหมายเจ้าหญิงบัวนวล ลูกเจ้านายในเชียงใหม่ไว้รอท่าแล้ว และครั้นทราบว่าลูกชายรักและได้สามัญชนชาวพม่าเป็นเมีย วิกฤตการเมืองก็เกิดขึ้นทันที และเจ้านายในเชียงใหม่ก็ทำทุกอย่างเพื่อให้หนุ่มสาวแยกทางกัน และผลักดันให้หมะเมียะต้องกลับเมืองเมาะละแหม่งเพียงสถานเดียว  เจ้าราชบุตรไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องส่งตัวหมะเมียะกลับพม่าเพื่อแสดงให้สยามเห็นว่าแม้ตนเองได้ทำผิดที่ส่งลูกชายไปเรียนที่พม่า  แต่ต่อจากนี้ไป  ล้านนาจะต้องไม่มีสัมพันธ์ใด ๆ กับพม่าอีก สัมพันธ์รักระหว่างลูกชายกับสาวพม่าจะต้องยุติอย่างเด็ดขาด  ก็เลยบังคับส่งมะเมี้ยะกลับพม่าเจ้าน้อยสัญญาว่าอีก 3 เดือนจะไปรับมะเมี้ยะกลับ  ทั้งคู่สาบานกันไว้ว่าจะไม่รักใครอื่นหากใครผิดคำสาบานขอให้อายุสั้น " ตอนนั้นมะเมี้ยะโพกผมไว้พอจะไปก็ก้มลงกราบเท้าเจ้าน้อยที่ประตูเมือง  ชาวบ้านออกมามุงกันทั้งเมืองเพราะได้ยินว่ามะเมี้ยะงามขนาดพอกราบเสร็จ ก็เอาผ้าโพกผมออกแล้วสยายผมเอามาเช็ดเท้าเจ้าน้อย  จงรักภักดีบูชาสามีสุดชีวิต แล้วก็กอดขาร้องไห้ เจ้าน้อยเองก็ร้องทำเอาคนที่มามุงร้องไห้ไปทั้งเมืองด้วยความสงสารความรัก ของทั้งคู่ "
ด้วยเหตุนี้ไม่ว่าฉากความรักและความอาลัยระหว่าง 2  หนุ่มสาวในตอนเช้าวันหนึ่งของเดือนเมษายน พ.ศ. 2446  จะโศกเศร้าสะเทือนใจจนใครต่อใครที่พบเห็นร้องไห้ตามเพียงใดก็ตาม  แต่เรื่องจริงเรื่องนี้ก็ต้องจบลงเช่นนั้น ไม่ใช่เรื่องของกรรมเวร  ไม่ใช่ศักดินาที่ต่างกันระหว่างคนรักทั้งสอง  และไม่ใช่เชื้อชาติเผ่าพันธุ์ต่างกันหรือประเพณี แต่เป็นปัญหาการเมือง  การเมืองที่สยามกำลังกำหนดเส้นทางเดินของล้านนาและเจ้าราชบุตรเลือกที่จะเป็นฝ่ายยอมจำนน  การเมืองที่พ่อส่งลูกไปเรียนด้วยหวังว่าลูกจะมีความรู้ในเรื่องภาษาอังกฤษสถานการณ์การเมืองในพม่าและนโยบายของอังกฤษ  เพื่อลูกจะได้กลับมามีบทบาทในล้านนาต่อไป  (ไม่มีหลักฐานว่าเจ้าราชบุตรมีความคิดทางการเมืองอย่างใด)  แต่แล้วความรักที่เกิดขึ้นและขัดแย้งกับปัญหาการเมืองก็ต้องพ่ายแพ้แก่การ เมืองในที่สุด
นักวิชาการชาวเชียงใหม่ท่านหนึ่งซึ่งสนใจเรื่อง หนุ่มศุขเกษมและสาวหมะเมียได้ไปเยือนเมืองเมาะละแหม่ง  เธอคือ  รศ.จีริจันทร์ ประทีปะเสน เส้นทางที่ปิดระหว่างเมียวดีกับเมาะละแหม่งทำให้คนไทยที่สนใจจะไปเยือนเมาะ ละแหม่งต้องบินจากฝั่งไทยไปที่นครย่างกุ้ง แล้วนั่งรถยนต์หรือรถไฟย้อนกลับมา   น่าเสียดายที่อาจารย์จีริ จันทร์ไปถึงเมืองเมื่อค่ำแล้ว  และต้องเดินทางจากเมืองตอนสายวันรุ่งขึ้น  แต่กระนั้นในความมืดของคืนนั้นและความสลัวรางของเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น  อาจารย์ก็ได้เห็นหลายสิ่งที่น่าตื่นใจและจะเป็นฐานสำคัญสำหรับการเดินทางของเธอครั้งต่อไปและของผู้สนใจศึกษารุ่นต่อไป
อาจารย์เล่าว่า ค่ำคืนนั้นเธอได้ขึ้นไปที่วัดไจ้ตาหล่าน  เมื่อขึ้นไปถึงลานกว้างหน้าพระเจดีย์  ขณะที่เธอกำลังไหว้พระเจดีย์สีทองอร่าม  มีหนุ่มสาวคู่หนึ่งนั่งเคียงกันอยู่ไม่ไกลนักกำลังไหว้พระเจดีย์เช่นกัน  ลานนี้เองเมื่อ 99 ปีก่อน (พ.ศ. 2446) ที่หนุ่มเชียงใหม่กับสาวพม่าคู่หนึ่งนั่งเคียงกันไหว้พระเจดีย์เบื้องหน้า  และสัญญาต่อกันและต่อหน้าพระเจดีย์ว่าจะรักและซื่อสัตย์ต่อกันตราบฟ้าสิ้น ดินสลาย
เมื่ออาจารย์พบพระรูปหนึ่งและถามถึงแม่ชีของวัดนี้  ท่านได้พาเธอไปพบเจ้าอาวาสซึ่งมีอายุราว 60 ปี  ท่านเจ้าอาวาสเล่าว่าวัดนี้เคยมีแม่ชีคนเดียวเมื่อนานมาแล้ว กล่าวคือเมื่อท่านเริ่มบวชเณรอายุ 18-19 ปีประมาณ พ.ศ. 2504-2505 ที่วัดมีแม่ชีชรารูปหนึ่ง ชื่อ ด่อนังเหลี่ยน อายุ 70 ปีเศษ และหลังจากนั้นไม่นาน แม่ชีก็เสียชีวิต
เจ้าอาวาสเล่าว่าท่าน ได้ยินว่าแม่ชีผู้นี้บวชชีตั้งแต่เป็นสาว เป็นแม่ชีที่ชอบมวนบุหรี่  และมีคนมารับไปขายเป็นประจำ แม่ชีได้บริจาคเงินให้วัดสร้างศิลาจารึกเป็นภาษามอญมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระ พุทธประวัติ ที่ยังคงเก็บไว้ที่วัด  เจ้าอาวาสเล่าว่าห้องพักของแม่ชียังคงอยู่ หม้อข้าวและเครื่องใช้บางอย่างก็ยังคงอยู่   อาจารย์ จีริจันทร์คิดว่าแม่ชีด่อนังเหลี่ยนคือหมะเมียะ เพราะเป็นที่รู้กันที่เชียงใหม่ว่าหลังจากที่หมะเมียะถูกพรากจากเจ้าน้อยศุข เกษม เธอก็ไปรอชายคนรักที่เมืองเมาะละแหม่ง ไม่ได้รักใครอีก หลังจากนั้น เธอได้กลับมาที่เมืองเชียงใหม่อีกครั้งเพื่อมาพบเจ้าน้อยศุขเกษม  ในตอนนั้น เจ้าน้อยแต่งงานแล้วก็กับเจ้าหญิงบัวชุม ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าดารารัศมีและพิธีสมรสจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเจ้าน้อยทราบว่าหมะเมียะมารอพบที่บ้านเชียงใหม่ เจ้าน้อยศุขเกษมไม่ยอมออกมาพบ แม้ว่าหมะเมียะจะรออยู่นานแสนนาน โดยที่เจ้าน้อยได้ฝากเงินให้ 800 บาทและแหวนทับทิมที่ระลึกวงหนึ่ง
หลังจากนั้น หมะเมียะก็กลับมาบวชชีที่วัดใหญ่ในเมืองเมาะละแหม่งจนสิ้นชีวิต  ชีวิตรักอันรันทดของเจ้าน้อยศุขเกษม (พ.ศ. 2426-2456) และหมะเมียะ (พ.ศ. 2430-2505) จบลงแล้วเมื่อปีพ.ศ. 2446 อันเป็นปีที่ทั้งสองเดินทางกลับถึงเชียงใหม่และถูกพรากจากกันไม่นานหลังจาก นั้น  เมื่อปี พ.ศ. 2446 หรือ 99 ปีที่แล้ว   ทั้งสองถูกแยกจากกันและไม่ได้พบกันอีก   แม้หมะเมียะจะเดินทางกลับไปหาอีกครั้งเพื่อร่ำลาหลังจากทราบว่าเจ้าน้อยแต่งงานเจ้าน้อยศุขเกษมน่าจะรู้สึกผิดและเจ็บปวดอย่างที่สุด จึงไม่อาจทำใจออกมาพบหญิงคนรักได้ ได้แต่ฝากของที่ระลึกให้
แม้ เจ้าน้อยศุขเกษมจะสิ้นชีวิตอีก 10 ปีหลังจากการพลัดพรากในปี 2446 และหมะเมียะจะสิ้นชีวิตอีก 59 ปีหลังจากนั้น แต่กล่าวสำหรับเจ้าน้อยศุขเกษมชีวิตของเขาจบสิ้นแล้วตั้งแต่ปีนั้น ปีที่เขาถูกการเมืองทำลายความรักและเขาได้ละเมิดคำสัญญาที่เขามีไว้กับหญิงสาวที่เขารัก 10 ปีหลังจากนั้นที่เขามีชีวิตเหลืออยู่ก็มีเพียงกายที่เดินไปมาและกายที่คอยแต่ดื่มสุรา  ดื่มเพื่อที่จะลืมอดีตดื่มจนทำให้กายนั้นหยุดทำงานก่อนวัยอันควร  แม้เจ้าน้อยศุขเกษมจะเสียชีวิตด้วยพิษสุรา และหมะเมียะจะเสียชีวิตด้วยโรคชรา  แต่ความรักของเขาไม่เคยสิ้นสุด ชีวิตของเขาทั้งสองได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความรักอันยิ่งใหญ่ที่พวกเขาได้ สร้างขึ้นในวัยหนุ่มสาว  วันหนุ่มสาวที่ผู้ใหญ่หลายคนคิดว่า เป็นวัยที่รักง่าย ลืมง่าย คิดว่าแยกพวกเขาออกจากกันไม่นานก็ลืมกันไปเอง วัยหนุ่มสาวและความรักที่การเมืองระหว่างสยามกับล้านนาคิดว่าเป็นเรื่องเล่น ๆ ไม่มีความสำคัญใด ๆ  
สุดท้าย ความรักอันยิ่งใหญ่นั้นก็ยืนยง  ที่เจ้านายล้านนาไม่ว่าจะอยู่ที่เชียงใหม่หรือกรุงเทพฯ ก็ตกตะลึงคิดไม่ถึงว่าเจ้าน้อยศุขเกษมจะรักหมะเมียะและมีใจให้หญิงสาวคนนั้นเพียงผู้เดียวอย่างเหนียวแน่นถึงเพียงนั้นและก็คงไม่มีใครคิดว่าสาวน้อยชาวพม่าคนนั้นจะมีหัวใจเพียงดวงเดียวมอบให้แก่  ชายหนุ่มชาวเชียงใหม่ และเธอได้พิสูจน์ให้เห็นตลอดชีวิตอันยาวนานของเธอ  น่าเสียดายนักที่ราชนิกูลแห่งสกุล  ณ  เชียงใหม่  จะช่วยกันปิดบังเรื่องราวอีกหลายด้านเกี่ยวกับความรักและความรันทดของคนทั้งสอง  จนกระทั่งพวกเขาเองลับหายจากโลกไปทีละคนทีละคน  จนเวลานี้จวนจะครบ 100 ปี  ของความรักและโศกนาฏกรรมนั้น   ยังมีอีกหลายอย่างมากที่ดำมืดมีเพียงการคาดคะเนและวิเคราะห์ไปตามข้อมูลที่มีอย่างจำกัด


ภาพวัดชีสุขเกษม












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น