วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

วัดพระนอน

วัดพระนอน

วัดพระนอนมงคลแห่งการได้นมัสการพุทธลักษณะนอนหงาย ที่ไม่มีที่ใดในประเทศ


                      ตั้งอยู่ตำบลวิหารแดง  อำเภอเมือง  จังหวัดสุพรรณบุรี เดิมเป็นวัดร้างที่มีอายุกว่า 400 ปีมีเพียงซากปรักหักพังของพระพุทธรูป และโบราณสถานเก่าแก่มีพระพุทธรูปนอนหงายอยู่องค์หนึ่งแปลกจากพระนอนทั่วไป ที่บรรทมด้วยสีไสยาสน์ สร้างเท่าขนาดของคนโบราณมีลักษณะเหมือนกับพระนอนที่เมืองกุสินารา สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าประเทศอินเดีย ต่อมามีพระปลัดบุญส่ง เจ้าอาวาสวัดรูปองค์ก่อนที่ปัจจุบันนี้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดอ่าวน้อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้สร้างบูรณะวัดขึ้นมาใหม่ให้มีความสวยงาม
                      ส่วนที่มาของพระนอนหงายนั้นมาจากที่ญาติโยมและนักโบราณคดีเล่ากันและสันนิษฐานกันมาว่าเป็นพระสมัยสุโขทัยบ้างเป็นพระจากศิลปะแบบลังกาบ้างแต่พระนอนเป็นพระที่มีอายุน่าจะมากกว่า 400 ปี จน ถึง 800ปีเป็นการสร้างพระนอนที่เรียกว่าปางถวายพระเพลิงที่มีลักษณะนอนหงาย เหมือนกับคนโบราณสร้างจากหินทรายมีน้ำหนักมากและคาดว่าถูกพบในแม่น้ำท่าจีน แล้วย้ายขึ้นมาทีมณฑปจัตุรมุข
                      ที่วัดพระนอนนี้มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านท่านเจ้าอาวาสได้เลี้ยงปลาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 มีทั้งปลาสวายปลาตะเพียน ปลาแรด ปลาตะโกก ปลายี่สก จำนวนนับแสนตัว
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ – ความเชื่อ

พระนอนหงาย
พระนอนหงายปางหนึ่งของตำนานการสร้างพระพุทธรูป เป็นเครื่องรำลึกถึงและเคารพบูชาถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าคราวเสด็จปรินิพพาน 


บรรยากาศวัดพระนอน












         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น